ดังที่ท่านอาจเคยได้ทราบกันมาบ้างแล้วว่า ได้มีการแบ่งการประมวลผลแบบคลาวด์ ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. IaaS (Infrastructure as a Service) ซึ่งเหมาะสำหรับบริหารจัดการตั้งแต่ระดับ Infrastructure ขึ้นไป 2. Paas (Platform as a Service) จะสามารถบริหารจัดการในระดับ Application Container โดยมักจะถูกใช้งานร่วมกับ Database Service นิยมเรียกว่า DaaS (Database as a Service) จากบริการในปัจจุบันจะเห็นว่ามันคือการเอา Application Server มาให้บริการอยู่บนการประมวลผลแบบคลาวด์นั่นเอง และสุดท้าย 3. SaaS (Software as a Service) จะเป็นบริการประเภทที่ผู้ใช้งานไม่ต้องสนใจสิ่งใดเลย ไม่ว่าเป็น Infrastructure, Server, Network แม้กระทั่งในระดับ Application Container และ Database Service แต่จะสนใจเพียงแค่ตัว Application ว่าทำงานได้ตรงตามความต้องการ รองรับตามจำนวนผู้ใช้งาน และมีความทนทานต่อเหตุฉุกเฉินหรือภัยพิบัติได้
บริการคลาวด์ แบบ Infrastructure as a service (IaaS) เป็นบริการคลาวด์ที่เหมาะกับสายงาน Operation หรือสำหรับองค์กรที่ไม่ต้องการลงทุนทางด้าน Hardware ให้บริการครอบคลุมเฉพาะในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยประมวณผล (processing unit) , เครือข่ายข้อมูล (network) , ระบบเก็บข้อมูล (storage) หรือพื้นที่เซิร์ฟเวอร์ (hosting) เป็นต้น ซึ่งผู้ให้บริการจะรับผิดชอบดูแลให้ โดยที่ผู้ใช้บริการ IaaS ไม่ต้องลงทุนสิ่งเหล่านี้เอง ช่วยให้ลดความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบเองได้ ผู้ใช้บริการ IaaS จะมีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบไอที สามารถเลือกใช้ระบบคลาวด์ได้อย่างเหมาะสม ปรับขยายหรือลดขนาดได้ตามความต้องการหรือนโยบายขององค์กร
ระบบคลาวด์แบบ IaaS สามารถเลือกทรัพยากร (Resource) ที่ต้องการตามความต้องการได้ ช่วยให้เราจ่ายเฉพาะสิ่งที่เราใช้ และยังช่วยให้เราหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายและความซับซ้อนของการซื้อและจัดการเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของเราเองและโครงสร้างพื้นฐานศูนย์ข้อมูลอื่นๆ ทรัพยากรแต่ละรายการจะถูกนําเสนอเป็นส่วนประกอบบริการแยกต่างหาก และเราต้องเช่าทรัพยากรเฉพาะตามเท่าที่เราต้องการ โดยผู้ให้บริการการประมวลผลระบบคลาวด์แบบ IaaS เช่น Microsoft Azure, Amazon Web Services, Google Compute Engine จะจัดการโครงสร้างพื้นฐานของระบบให้ ในขณะที่เราต้องติดตั้ง กําหนดค่า และจัดการซอฟต์แวร์ของเราเอง เช่น ระบบปฏิบัติการ (Windows) และแอปพลิเคชันที่จำเป็นเอง
ก่อนจะพูดถึงรูปแบบของบริการ Cloud Computing ในแบบต่าง ๆ เรามาดูรูปแบบของ On-premise System กันก่อน เพื่อที่จะแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่าง On-premise และ Cloud Computing ได้ชัดเจนขึ้น ว่าทำไม Cloud Computing ถึงมีบทบาทมาก ทั้งการใช้งานส่วนบุคคลและการใช้งานในองค์กร
โดยทีมพัฒนาสามารถตั้งค่าและปรับเปลี่ยนการทดสอบและการพัฒนาได้อย่างรวดเร็วทําให้แอปพลิเคชันใหม่ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น เพราะระบบคลาวด์แบบ IaaS สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วในการปรับขนาดของทรัพยากรที่ใช้งานของการทดสอบและพัฒนา
Cloud Computing จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับ องค์กร บริษัท ธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ในการหาช่องทางช่วยในการลดต้นทุน ช่วยประหยัดเวลา ลดความยุ่งยากในการลงทุน การสร้างระบบคอมพิวเตอร์ การบำรุงรักษาในระยะยาว และการบริหารจัดการด้านไอทีเอง เป็นเทรนด์ที่น่าจับตาในปี 2021 นี้ ที่น่าจะเป็นอีกคำตอบที่ทำให้องค์กรหรือหน่วยงานมีความยืดหยุ่นที่เพิ่มมากขึ้น ลดความยุ่งยากในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ ช่วยให้สามารถขยับตัวเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดได้เร็วกว่าคู่แข่งและทันท่วงที
ข่าวสาร และบทความ ความแตกต่างของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ แล… Continue reading ความแตกต่างของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ และเว็บแอพพลิเคชั่น
ข่าวสาร และบทความ วิกฤติองค์กร IT Support ขาดตลาด ปัจจุ… Continue reading วิกฤติองค์กร IT Support ขาดตลาด
ข่าวสาร และบทความ ความสำคัญ และการเลือกเซิร์ฟเวอร์เพื่อ… Continue reading ความสำคัญ และการเลือกเซิร์ฟเวอร์เพื่อจัดเก็บข้อมูล